ประเภทและวิธีการเลือกใช้งานฉนวนกันความร้อนให้เหมาะสม

ฉนวนกันความร้อน คืออะไร ประเภทและวิธีการเลือกใช้งานให้เหมาะสม

สภาพอากาศที่ร้อนมากเกินไป ก่อให้เกิดผลเสียตามมามากมาย หนึ่งในนั้นคืออุณหภูมิภายในบ้านหรืออาคารที่สูงขึ้น ฉนวนกันความร้อน จึงเป็นวัสดุสำคัญที่ป้องกันความร้อนผ่านเข้ามาในปริมาณที่มากเกินไป ช่วยให้ภายในอาคารมีอุณหภูมิที่เหมาะสม ประหยัดพลังงาน และส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยในบทความนี้จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ “ฉนวนกันความร้อน” ประเภทต่างๆ เพื่อให้คุณสามารถเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนได้อย่างเหมาะสม

ฉนวนกันความร้อน คืออะไร

ฉนวนกันความร้อน (Sound Insulation) คือวัสดุป้องกันไม่ให้ความร้อนจากด้านหนึ่งส่งไปอีกด้านหนึ่งได้สะดวก รวมถึงช่วยสะท้อนรังสีความร้อนออกไปด้วย ส่วนมากจะนิยมติดตั้งฉนวนกันความร้อนไว้ใต้หลังคา บนฝ้าเพดาน หรือผนัง เพื่อกั้นความร้อนจากภายนอกให้เหลือน้อยที่สุดก่อนเข้าสู่ตัวอาคารโดยทั่วไปแล้วฉนวนกันความร้อนจะเป็นวัสดุมวลเบา ภายในประกอบด้วยฟองอากาศเล็กๆ จำนวนมาก ซึ่งฟองอากาศเหล่านี้จะมีคุณสมบัติพิเศษในการสกัดกั้นความร้อนให้อยู่แต่ในฟองอากาศ ไม่นำพาความร้อนจากแสงอาทิตย์กระจายออกไปยังส่วนอื่น ๆ ได้

ฉนวนกันความร้อนที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร?

ฉนวนที่ดีจะต้องต้านทานความร้อนที่ส่งผ่านจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งให้เหลือน้อยที่สุด โดยสามารถพิจารณาได้จากค่า R และ ค่า K

  • ค่าR(R-Valueหรือ Resistivity)หมายถึง ค่าความต้านทานความร้อนของฉนวนมีหน่วยเป็น m2K/W หรือ hr.ft2. F/Btu ตัวเลขที่กำกับไว้บ่งบอกว่า ฉนวนชนิดนั้นต้านทานความร้อนที่เข้ามาได้มากน้อยแค่ไหน สรุปแล้วค่า R ยิ่งมากแสดงว่าเป็นฉนวนที่สามารถต้านทานความร้อนได้ดี
  • ค่า K (K-value หรือ Conductivity)หมายถึง ค่าสัมประสิทธิ์ของการนำความร้อน มีหน่วยเป็น (W/m.k.)ตัวเลขที่กำกับไว้จะบ่งบอกว่า ฉนวนชนิดนั้นมีคุณสมบัตินำความร้อนมากน้อยแค่ไหน สรุปแล้วค่า K ยิ่งน้อย แสดงว่าเป็นฉนวนที่สามารถนำความร้อนได้น้อย

และตามธรรมชาติแล้ว อากาศร้อนจะเข้าไปแทนที่อากาศเย็นกว่าเสมอ แต่ถ้าวัสดุนั้นมีค่าการนำความร้อนต่ำ อากาศร้อนก็จะผ่านตัวฉนวนเข้ามาที่ตัวบ้านได้น้อยลง

ตารางเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์ของการนำความร้อนของวัสดุชนิดต่างๆ

วัสดุค่า K (วัตต์/เมตร°C)
โฟมโพลียูรีแทน (PU Foam)0.023
โพลีสไตลิน  (PS Foam)0.031
ฉนวนใยแก้ว0.035
ไม้อัด0.123
แผ่นยิปซัม0.191

จากตารางจะเห็นว่าโฟมพียู มีค่าการนำความร้อนน้อยกว่าวัสดุชนิดอื่น หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่าโฟมพียูมีความต้านทานความร้อนได้ดีกว่านั่นเอง

ประเภทของฉนวนกันความร้อน

สามารถแบ่งฉนวนกันความร้อนตามวิธีการติดตั้งและการใช้งาน เป็น 2 ประเภท คือ ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น และฉนวนกันความร้อนแบบพ่น

ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น

แผ่นฉนวนกันความร้อนเป็นวัสดุที่ติดตั้งค่อนข้างง่าย ด้วยความที่มีลักษณะเป็นแผ่น จะมีความอ่อนตัวสูง ดัดโค้งได้ น้ำหนักเบา และต้านทานความร้อนได้ดี จึงเหมาะสำหรับงานติดตั้งบนหลังคาและฝ้าเพดานเช่น ฉนวนใยแก้ว ฉนวนใยหิน ฉนวนโพลียูรีเทน (PU) ฉนวนโพลีเอทิลีน (PE) และฉนวนโพลีสไตรีน (PS)

1. ฉนวนใยแก้ว (Fiberglass)

ฉนวนใยแก้ว คือฉนวนที่ห่อหุ้มด้วยฟอยล์อะลูมิเนียม โดยใยแก้วจะทำหน้าที่ป้องกันความร้อน ส่วนฟอยล์อะลูมิเนียมจะทำหน้าที่สะท้อนความร้อน ฉนวนใยแก้วนั้นมีหลายรูปแบบ สามารถติดตั้งได้ง่าย ไม่ลามไฟ

  • ค่าต้านทานความร้อน (Resistivity)ประมาณ 1.786 m2.K/W(10.139 hr.ft² ˚F/Btu)
ฉนวนใยแก้ว(Fiberglass)

2. ฉนวนแอร์บับเบิ้ล (Air Bubble เรียกอีกอย่างว่า Bubble Foil)

ฉนวนแอร์บับเบิ้ล มีลักษณะคล้ายแผ่นพลาสติกกันกระแทก ที่มีมวลอากาศอยู่ตรงกลาง และมีอะลูมิเนียมประกบกันทั้ง 2 ด้าน โดยตัวมวลอากาศจะทำหน้าที่ป้องกันความร้อน ส่วนฟอยล์อะลูมิเนียมจะทำหน้าที่สะท้อนความร้อน

  • ค่าต้านทานความร้อน (Resistivity) ประมาณ 0.101 m2.K/W (0.573 hr.ft² ˚F/Btu)
  • ข้อควรระวัง : ฉนวนกันความร้อนแบบแอร์บับเบิ้ลนั้นทำมาจากพลาสติก จึงมีโอกาสที่จะติดไฟได้ง่าย
ฉนวนแอร์บับเบิ้ล(AirBubble)

3. ฉนวนอะลูมินั่มฟอยล์ (Aluminium Foil)

ฉนวนอะลูมินั่มฟอยล์ เป็นฉนวนกันความร้อน ที่มีลักษณะเป็นแผ่นอะลูมินั่ม 2 หน้าบางๆ ทำหน้าที่สะท้อนความร้อนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีความร้อนสูงสุด 97%

  • ค่าต้านทานความร้อน (Resistivity)ประมาณ 0.000001 m2.K/W หรือ 0.0000057 hr.ft² ˚F/Btu)
  • ข้อแนะนำ: ควรใช้ฉนวนอะลูมินั่มฟอยล์ร่วมกันกับฉนวนประเภทอื่น เนื่องจากตัวอะลูมิเนียมฟอยล์ทำหน้าที่เพียงสะท้อนความร้อนอย่างเดียวแต่ไม่สามารถป้องกันความร้อนที่จะส่งผ่านเข้ามาภายในบ้านได้
ฉนวนอะลูมินั่มฟอยล์(AluminumFoil)

4. ฉนวนประเภทโฟม (Polyethylene Foam-PE)

ฉนวนโฟม PE มีลักษณะเป็นแผ่นโฟมที่มีแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ 1 หรือ 2 ด้าน ประกบกันแต่ละชั้นให้ติดกัน ฉนวนโฟม PE ทำหน้าที่ป้องกันความร้อน ส่วนแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ทำหน้าที่สะท้อนความร้อน ฉนวนโฟม PE จึงสามารถป้องกันความร้อนพร้อมกับช่วยสะท้อนความร้อนในตัว

  • ค่าต้านทานความร้อน (Resistivity)ประมาณ 0.208 m2.K/W (1.181 hr.ft² ˚F/Btu)
  • ข้อควรระวัง: เนื่องจากฉนวนกันความร้อนแบบโฟม มีคุณสมบัติการป้องกันความร้อนด้อยกว่าฉนวนแบบอื่น ๆ อายุการใช้งานสั้น หากติดไฟเนื้อโฟมจะเสียสภาพทันทีและอาจทำให้น้ำรั่วซึมได้
ฉนวนประเภทโฟม(PolyethyleneFoam-PE)

5. ฉนวนร็อควูล (Rockwool)

ฉนวนร็อควูล หรือที่หลายคนเรียกฉนวนใยหินภูเขาไฟ เพราะเป็นฉนวนที่ผลิตมาจากใยหินภูเขาไฟมีความเสถียรและความทนทานสูง ได้รับการจัดอยู่ใน Euroclass A1 และ A2 ตามมาตรฐาน EN 13501-1 ซึ่งเป็นการยืนยันว่าฉนวน Rockwool นั้นสามารถทนต่อไฟและทนต่อความร้อนได้สูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว

  • ค่าต้านทานความร้อน (Resistivity)ประมาณ 0.208 m2.K/W (12.17 hr.ft² ˚F/Btu)
ฉนวนร็อควูล(Rockwool)

ฉนวนกันความร้อนแบบพ่น

ฉนวนกันความร้อนแบบพ่นมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าแบบอื่น เพราะเป็นการนำฉนวนที่ละลายเป็นของเหลวพ่นทับบนพื้นผิวที่ต้องการป้องกันความร้อนอีกที ส่วนมากจะใช้กับบริเวณที่ยากต่อการปูฉนวนแบบแผ่น ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีเครื่องมือเฉพาะทาง ราคาในการติดตั้งจึงสูงตามไปด้วย

1. เซรามิคสะท้อนความร้อน (Ceramic Coating)

เป็นการพ่นเคลือบหลังคาด้วย Ceramic Coating ซึ่งมีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนได้สูง ดูดซับความร้อนต่ำ กระจายความร้อนได้เร็ว มีความยืดหยุ่นสูง และยังยึดเกาะพื้นผิวได้ดี จึงสามารถใช้ Ceramic Coating เคลือบผิวภายนอก เช่น หลังคา ดาดฟ้า หรือผนัง

เซรามิคสะท้อนความร้อน(CeramicCoating)

2. เยื่อกระดาษ (Cellulose)

ฉนวนกันความร้อนแบบเยื่อกระดาษ ผลิตจากกระดาษรีไซเคิลแล้วนำมาปรับปรุงด้วยส่วนผสมจากแร่ธรรมชาติ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม โดยฉนวนกันความร้อนแบบพ่นเยื่อกระดาษนั้น สามารถพ่นติดได้ตามใต้หลังคา เพดาน ผนัง อีกทั้งยังพ่นได้กับทุกพื้นที่ผิว เช่น หลังคาเหล็ก หลังคากระเบื้อง ยิปซั่มบอร์ด คอนกรีต โดยไม่ต้องมีอะไรมารองรับ จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก

จุดเด่นของฉนวนกันความร้อนแบบเยื้อกระดาษ คือน้ำหนักเบาและดูดซับเสียงได้ดี ส่วนข้อเสียคือควบคุมความหนาได้ยาก อีกทั้งยังไม่ทนต่อความชื้นด้วย

เยื่อกระดาษ(Cellulose)

3. ฉนวนกันความร้อน PU Foam (Polyurethane)

ฉนวนกันความร้อน โพลียูรีเทนโฟม ( Polyurethane Foam ) เป็นสารพลาสติกเหลวชนิดเทอร์โมเซ็ตติ้งใช้ฉีดลงบนแผ่นพื้นผิวเมทัลชีทหรือวัสดุอื่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนกระจายเข้าสู่ตัวอาคาร สามารถลดการแผ่รังสีความร้อนได้ถึง 95% มีจุดหลอมเหลวต่ำ ไม่ลามไฟ แต่เมื่อโดนความร้อนสูงเป็นเวลานานจะเปลี่ยนรูป ขณะเดียวกันก็มีคุณสมบัติสามารถป้องกันน้ำและความชื้นได้อีกด้วย

โดยวิธีการติดตั้ง PU Foam จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ 1.) ฉีดพ่นลงบนวัตถุพื้นผิวที่ต้องการ เช่น ใต้หลังคา ผนังห้อง 2.) แผ่นพียูโผมสำเร็จรูป เรียกว่า หลังคาเมทัลชีท แซนวิช เป็นการฉีดฉนวนความร้อนลงบนวัสดุแล้วเรียบร้อย จึงติดตั้งง่าย สะดวก นิยมใช้กันมากนั่นเอง

ฉนวนกันความร้อนPUFoam(Polyurethane)

จากที่ทุกท่านได้ทราบข้อมูลและประโยชน์ของฉนวนกันความร้อนไปแล้ว จะเห็นได้ว่าการติดตั้งฉนวนกันความร้อนนั้นเป็นที่นิยมและเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของบ้าน อาคาร โรงงาน ไม่ควรมองข้าม และต้องใส่ใจเป็นอย่างมาก

สรุป

สุดท้ายนี้หากท่านใดกำลังมองหาฉนวนกันความร้อนคุณภาพดี มีมาตรฐาน ไว้สำหรับงานก่อสร้างบ้าน อาคาร ทางบริษัท Thaitaweeporn เราจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างและโรงงานแบบครบวงจร อีกทั้งยังมีฉนวนกันความร้อนมากมายหลายแบบให้ท่านได้เลือก พร้อมให้บริการและให้คำปรึกษาด้วยทีมงานมืออาชีพ

สุดท้ายนี้หากท่านใดกำลังมองหาวัสดุสำหรับงานก่อสร้างบ้าน อาคารพาณิชย์ โรงงาน ทางบริษัท Thaitaweeporn เรามีจำหน่ายครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น เหล็กแผ่น เหล็กม้วน อลูซิงค์ และหลังคาเมทัลชีท หลากหลายรูปแบบให้ท่านเลือก พร้อมให้คำปรึกษาและบริการโดยทีมงานมืออาชีพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

coverแปz-z1429280452096

แปหลังคา คืออะไร รู้จักแป 3 แบบสำหรับงานโครงสร้าง

coverเหล็กz-z316735686991

เหล็ก คืออะไร ชนิดของเหล็กและลักษณะการใช้งาน

coverซีลายz-z985707962558

ฝ้าเพดานสวย ๆ ใครเป็นคนค้ำไว้? มาทำความรู้จัก “เหล็กซีลาย” กันเถอะ!

coverphotoเมทัลชีทz-z367283066843

วิธีเลือกแผ่นหลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet) ให้เหมาะสม