หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
สินค้าของเรา
อลูซิงค์ (GL)
เหล็กเคลือบสี (PPGI)
เหล็กพิมพ์ลาย (PPGI)
อลูซิงค์ เกรดพรีเมี่ยม Diamond Premium
อลูซิงค์เกรดบี
เหล็กเคลือบสังกะสี (GI)
เหล็ก ZAM
เหล็กดำ หรือ เหล็ก SPHC
เหล็กขาว (CR) หรือ เหล็กแผ่นขาว
เหล็กเกรดบี
เหล็กซิงค์เทา (GA)
เหล็กซิงค์ฟ้า หรือ เหล็ก EG
เหล็กม้วนปิ๊กเกอร์ (P/O)
แป Purlin
ซีลาย C-Line
สังกะสี สลิท พร้อมรีด
จิงโจ้เหล็ก
บริการ
ตัดม้วน ตัดแผ่น
งานซอย
งานสลีท
การขนส่ง
โบรชัวร์
กิจกรรม
บทความ
ติดต่อเรา
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
สินค้าของเรา
อลูซิงค์ (GL)
เหล็กเคลือบสี (PPGI)
เหล็กพิมพ์ลาย (PPGI)
อลูซิงค์ เกรดพรีเมี่ยม Diamond Premium
อลูซิงค์เกรดบี
เหล็กเคลือบสังกะสี (GI)
เหล็ก ZAM
เหล็กดำ หรือ เหล็ก SPHC
เหล็กขาว (CR) หรือ เหล็กแผ่นขาว
เหล็กเกรดบี
เหล็กซิงค์เทา (GA)
เหล็กซิงค์ฟ้า หรือ เหล็ก EG
เหล็กม้วนปิ๊กเกอร์ (P/O)
แป Purlin
ซีลาย C-Line
สังกะสี สลิท พร้อมรีด
จิงโจ้เหล็ก
บริการ
ตัดม้วน ตัดแผ่น
งานซอย
งานสลีท
การขนส่ง
โบรชัวร์
กิจกรรม
บทความ
ติดต่อเรา
094-789-6959
เคล็ดลับดีๆกับไทยทวีพรค้าเหล็ก เรื่อง เหล็กม้วนคอยล์ สำหรับทำหลังคา แบบไหนดี
เหล็กม้วนคอยล์ สำหรับทำหลังคา แบบไหนดี
มาลองดูกันว่าเหล็กม้วนคอยล์ ที่นำไปใช้เพื่อรีดหลังคาแบบไหนดี
สำหรับผู้ประกอบการ และโรงรีด แบบไหนดีนั้น หากคำนึงถึง ราคาเบาๆ คุณภาพสมราคา คงหนีไม่พ้น เหล็กอลูซิงค์ หรือ เหล็กหลังคา ที่เรียกกันว่า เมทัลชีทที่นิยมมากในบ้านเราก็หนีไม่พ้น เหล็กม้วน เพื่อนำไปผลิตหลังคาเมทัลชีท หรือที่เรียกว่า เหล็กอลูซิงค์ Galvalume (GL) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อเหล็กอลูซิงค์คือ เหล็กแผ่นดำที่นำสารเคลือบ อลูมิเนียม(Aluminum), สังกะสี(Zinc)และ ซีลีคอน(Silicon) ในอัตราส่วน 55%, 43.4% และ 1.6% เหตุผลก็เรื่องสนิม ปัญหาหลักของการผลิตเลยทีเดียว การที่ปกป้องการสึกกร่อนและสนิมที่จะเกิดขึ้นกับ พื้นผิวของเหล็กดำ ด้วยความทนทานของสารเคลือบอลูซิงค์ เหล็กอลูซิงค์มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าเหล็กสังกะสี(Galvanized) ถึงสี่เท่าตัว จึงทำให้เหล็กตัวนี้ฮอตฮิต นิยทใช้ในบ้านเรามาก รวมไปถึง เหล็กอลูซิงค์ยังได้รับการยอมรับในวงการเนื่องจากความแข็งแรงทนทาน ง่ายต่อการ ติดตั้ง ความสวยงามและ อายุการใช้งานที่ยืนยาว
มาตราฐานหน้ากว้างของเหล็กอลูซิงค์ในประเทศไทยที่ใช้คือ 914 มิลลิเมตร ความหนามีให้เลือกหลายขนาดตั้งแต่ 0.18–0.50 มิลลิเมตร แล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้ ทั้งนี้ระดับความหนาของสารเคลือบยังแบ่งออกเป็นหลายขนาดเช่นกัน โดยสั่งเกตุได้จากตัวอักษร AZ แล้วตามด้วย ตัวเลข อย่างเช่น AZ70 หรือ AZ150 เป็นต้น ตัวเลขด้านหลังบ่งบอกถึงความหนาของสารเคลือบทั้งสองด้านหน่วยเป็น กรัมต่อตารางเมตร
เหล็กอลูซิงค์มีพื้นผิวที่คล้ายคลึงเหล็กสังกะสีแต่เหล็กอลูซิงค์มีความเงางามที่มากกว่าและป้องกันรอยขีดขวนเพื่อความสวยงาม เหล็กอลูซิงค์ได้ถูก ยอมรับให้เป็นสุดยอดวัสดุในการมุงหลังคาเพราะความแข็งแรง ทนทานและอายุการใช้งานที่นาน เหล็กอลูซิงค์สามารถนำไป เคลือบสีต่างๆตามความต้องการของลูกค้าเพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับวัสดุที่ใช้
เหล็กอลูซิงค์ไม่เหมาะแก่การนำไปใช้ด้านใน ด้านบน หรือสัมผัส กับปูนคอนกรีต เนื่องด้วยความเป็นอัลคาไลน์(Alkaline)ของปูนคอนกรีต จะทำให้สารเคลือบอลูซิงค์สึกกร่อนได้รวดเร็วเมื่อสัมผัส การใช้สารเคลือบอลูซิงค์ เป็นการนำข้อดีของอลูมีเนียมและ สังกะสี เข้ามารวมไว้ด้วยกัน ความทนทานในการสึกกร่อนและทนความร้อนของอลูมีเนียม รวมเข้ากับความทนทานของสังกะสี เกร็ดเล็กๆ สำหรับคนที่กำลังต้องการเลือกซื้อเหล็กอลูซิงค์ สเปคไหนที่ใช่ แบบไหนที่ชอบ
– BMT ย่อมาจาก Base Metal Thickness ความหนาของแผ่นเหล็กก่อนจะมีการเคลือบอลูซิงค์
-TCT ย่อมาจาก Total Coated Thickness ความหนาของแผ่นเหล็กหลังจากมีการเคลือบอลูซิงค์ AZ70 AZ100 AZ150
-APT ย่อมาจาก After Painted Thickness ความหนาของแผ่นเหล็กอลูซิงค์หลังจากมีการเคลือบสี AZ70 AZ100 AZ150
– ความหนาของสารเคลือบอลูซิงค์ซึ่งมีหน่วยเป็น กรัมต่อตารางเมตร
*ยิ่ง AZ สูง ความทนทานของแผ่นเมทัลชีทยิ่งมาก – G300 G550 G700 ค่าความแข็งแรงของเหล็กกล้าที่นำมาเคลือบอลูซิงค์
*เหล็กอลูซิงค์ที่เหมาะแก่การผลิตหลังคาเมทัลชีทควรจะผลิตจากเหล็กกล้ากำลังดึงสูง G550 ขึ้นไป
บทความที่เกี่ยวข้อง
แปหลังคา คืออะไร รู้จักแป 3 แบบสำหรับงานโครงสร้าง
เหล็ก คืออะไร ชนิดของเหล็กและลักษณะการใช้งาน
ฝ้าเพดานสวย ๆ ใครเป็นคนค้ำไว้? มาทำความรู้จัก “เหล็กซีลาย” กันเถอะ!
วิธีเลือกแผ่นหลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet) ให้เหมาะสม