
5 ข้อระวังในงานติดตั้งหลังคา อลูซิงค์ เมทัลชีท
เป็นที่ทราบกันดีว่า วัสดุหลังคาบ้านที่มีปัญหารั่วซึมน้อยสุดคืองานมุง
หลังคาอลูซิงค์ เมทัลชีท
นั่นเป็นเพราะวัสดุอลูซิงค์ เมทัลชีทสามารถสั่งผลิตให้มีความยาวของงานหลังคาต่อเนื่อง
ตลอดทั้งผืนได้ เมื่อหลังคาเป็นผืนเดียวกันหลังคาจึงไม่มีรอยต่อระหว่างแผ่น หรือหากมี
ก็น้อยกว่าหลังคาทั่วไปมาก อีกทั้งวัสดุอลูซิงค์เมทัลชีทมีน้ำหนักเบากว่าหลังคาชนิดอื่นๆ
จึงช่วยลดปัญหาด้านโครงสร้างหลังคาไปได้มาก แต่อย่างไรก็ตามในข้อดีเหล่านี้เราก็ยัง
เห็นข้อผิดพลาดในงานติดตั้งกันบ่อยครั้ง
เคล็ดลับดีๆกับไทยทวีพรค้าเหล็ก รวบรวม 5 ข้อที่ควรระวังในการติดตั้งหลังคา
อลูซิงค์ เมทัลชีท ที่พบได้บ่อย
1. จุดรั่วที่หัวสกรู
อลูซิงค์ เมทัลชีทที่มีจำหน่ายในปัจจุบันมีให้เลือก 2 ระบบคือ
ระบบคลิปล็อค
ระบบยึดเจาะด้วยสกรู
หากเป็นระบบคลิปล็อคตัดปัญหาข้อนี้ได้เลยเพราะเราจะไม่เห็นสกรูบนหลังคาแต่ต้องแลก
มาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าอลูซิงค์ เมทัลชีทแบบทั่วไป ปัญหาหลัก ๆ จึงอยู่ที่การเจาะสกรู
โดยช่างจะทำการเจาะสกรูลงไปยังแผ่นเหล็กอลูซิงค์เมทัลชีท เพื่อให้แผ่นเหล็กยึดติดกับ
โครงหลังคาอลูซิงค์ เมทัลชีทได้อย่างแน่นหนา ปัญหาที่พบบ่อยช่างบางรายไม่ได้ใส่แหวน
รองยางกันน้ำใต้หัวสกรู ซึ่งแหวนรองดังกล่าวจะทำหน้าที่อุดช่องว่างระหว่างสกรูเหล็กและ
หลังคาเข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันน้ำไหลซึมนั่นเองครับ การยึดสกรูไม่ควรยึดแน่นเกินไป
มิเช่นนั้นอาจทำให้แหวนรองยางขาดได้ ในขณะเดียวกันไม่ควรหลวมจนเกินไปเพราะอาจ
ส่งผลให้สกรูคลายตัวภายหลังและควรเลือกสกรูคุณภาพดีไม่เป็นสนิมในอนาคต
2. ระยะแปห่างเกิน ทำให้ตกท้องช้าง
ปัญหานี้พบได้บ่อยในงานต่อเติม โดยเฉพาะหลังคาโรงจอดรถที่ต้องการความกว้างเป็น
พิเศษ เช่น โรงจอดรถเพื่อรองรับการจอดรถยนต์ 2 คัน โดยออกแบบไม่ให้มีเสาคั่นกลาง
การคำนวณระยะแปจะต้องมีความถี่ตามมา หรือออกแบบโครงหลังคาอลูซิงค์ เมทัลชีท
ให้งานโครงสร้างมีความแข็งแรงมากขึ้น เพราะหากระยะแปไม่สมสัดส่วนกับน้ำหนักหลังคา
ไม่ว่าหลังคาอลูซิงค์ เมทัลชีทมีกี่แบบก็อาจส่งผลให้เกิดอาการแอ่นตัวหรือที่เรียกว่าตกท้อง
ช้างนั่นเองครับ การติดตั้งจึงจำเป็นต้องดูสเปคความหนา ของแผ่นอลูซิงค์ เมทัลชีท
ระยะความห่างของแป และจำเป็นต้องให้วิศวกรคำนวณให้เสมอครับ แม้จะเป็นงานต่อเติมเล็ก ๆ
3. Slope หลังคาน้อยเกินไป
โดยปกติอลูซิงค์ เมทัลชีทรุ่นทั่วไปจะรองรับความลาดเอียงตั้งแต่ 5 องศาขึ้นไปครับ และ
รองรับ 3 องศาขึ้นไปในรุ่นคลิปล็อค ปัญหามักเกิดจากการเลือกวัสดุไม่ตรงกับสเปคหลังคา
เช่น สถาปนิกออกแบบหลังคาไว้ 3 องศา ซึ่งจำเป็นต้องใช้เมทัลชีทรุ่นพิเศษ แต่ผู้รับเหมา
หรือเจ้าของบ้านบางท่านอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ต้องการประหยัดงบจึงลดสเปควัสดุ ส่งผล
ให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาภายหลัง การติดตั้งหลังคาอลูซิงค์ เมทัลชีทจึงจำเป็นอย่างยิ่ง
ต้องเลือกสเปควัสดุให้เหมาะกับแบบที่สถาปนิกออกแบบไว้ครับ นอกจากปัญหาสเปคไม่ตรง
กันแล้ว องศาที่ต่ำเกินไปอาจส่งผลให้น้ำไหลย้อนกลับ อาจก่อให้เกิดปัญหาของการรั่วซึม
บริเวณช่วงรอยต่อเมทัลชีทครับ
4. ลืมเศษโลหะไว้บนหลังคา
นับเป็นปัญหาเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นจากสาเหตุเล็ก ๆ และไม่ควรมองข้าม หลังจากช่างทำการ
ติดตั้งหลังคาเมทัลชีทเสร็จแล้วไม่เก็บงานให้เรียบร้อย ปล่อยทิ้งเศษเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิด
จากงานตัด เจาะ ไว้บนหลังคาบ้าน ปัญหาเหล่านี้จะยังไม่เห็นผลในระยะแรกครับ แต่เมื่อผ่าน
แดด ผ่านฝนมานานหลายปี เศษโลหะเหล่านี้จะก่อตัวเป็นสนิม ทำให้แผ่นหลังคาผุกร่อนได้ครับ
โดยปกติหลังคาอลูซิงค์ เมทัลชีทผลิตจากวัสดุเคลือบอลูซิงค์ ซึ่งป้องกันสนิมได้ก็จริง
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เป็นสนิมเลย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปัดกวาดให้เรียบร้อย
หลังจากติดตั้งเสร็จ โดยเฉพาะหลังคาที่ออกแบบลักษณะซ่อน ทำให้มองไม่เห็นเศษวัสดุ
จากด้านล่าง
5. วัสดุไม่ได้มาตรฐาน
การประหยัดงบก่อสร้างเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ หากมีตัวเลือกที่ถูกลงแต่ยังได้มาตรฐาน
งานที่ดี เจ้าของบ้านสามารถเลือกสเปควัสดุที่เหมาะสมกับงบประมาณงานก่อสร้างได้ครับ
แต่อย่างไรก็ตามวัสดุที่เลือกจำเป็นต้องมีมาตรฐานในระดับหนึ่งและเหมาะสมกับงานประเภท
นั้น ๆ เช่น งานหลังคาหลักของบ้านแนะนำเลือกความหนาของอลูซิงค์เมทัลชีท 0.4-0.47
มิลลิเมตร หรืออย่างน้อยที่สุด 0.35 มิลลิเมตร หากมีความหนาน้อยกว่านี้จะไม่เหมาะกับ
งานหลังคาบ้าน แต่จะเหมาะกับงานรั้วหรืองานอื่น ๆ ที่ไม่ได้ต้องการความทนทานมากนัก