รู้จักกับ มาตรฐาน อลูซิงค์ เมทัลชีท ในระดับสากล
มาตรฐานสากล ช่วยควบคุมคุณภาพการผลิตให้มีมาตรฐานกลาง ทั้งในเรื่องขนาด รูปลอน น้ำหนัก หน้ากว้าง ระยะการติดตั้ง ในขั้นตอนการผลิต เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความแข็งแรงทนทาน มีความคลาดเคลื่อนน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่ออาคารที่นำไปใช้ในภายหลัง
มอก. คือมาตรฐานที่ใช้ในขอบเขตของประเทศไทย แต่อลูซิงค์ เมทัลชีทแบรนด์ชั้นนำของโลก จะควบคุมคุณภาพการผลิตตามมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายทั่วโลกด้วย โดยมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอลูซิงค์ เมทัลชีท จะมีด้วยกัน 3 ระบบหลัก คือ
• ASTM (American Society for Testing and Materials) เป็นมาตรฐานที่ผ่านการรับรองจากสมาคมเพื่อการทดสอบและวัสดุแห่งอเมริกา
• JIS (Japaness Industrial Standards) มาตรฐานสากลประเทศญี่ปุ่นและเป็นมาตรฐานต้นแบบของมาตรฐาน มอก.
• AS (Australia Standards) มาตรฐานสากลประเทศออสเตรเลีย ที่มีข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดเรียบตามมาตรฐาน
ทำไมต้องเลือกใช้เมทัลชีทที่ได้มาตรฐาน
เมทัลชีทเริ่มต้นการผลิตและใช้งานมาจากต่างประเทศ และค่อย ๆ นิยมใช้ในประเทศไทยภายหลัง หากอิงกับมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก เราจะยิ่งมั่นใจได้ว่ามีการทดสอบการใช้งานจริงมาอย่างยาวนาน มีความน่าเชื่อถือระดับสากล
ผลเสียของการใช้แผ่นเมทัลชีทไม่ได้มาตรฐาน
เป็นการลดโอกาสหรือความคลาดเคลื่อนเวลาขึ้นรูปลอนของอลูซิงค์ เมทัลชีทได้ หากแผ่นอลูซิงค์ เมทัลชีทมีความสั้นหรือยาวเกินกว่าค่าความคลาดเคลื่อนที่ถูกกำหนดไว้ จะทำให้รูปลอนหลังคาเกิดการผิดพลาด ซึ่งเป็นสาเหตุของการรั่วซึมได้
หลังคาที่มุงด้วยแผ่นอลูซิงค์ เมทัลชีทที่ “สั้นเกินไป” จะทำให้การทับซ้อนของสันลอนตัวผู้และตัวเมียไม่เต็มลอน เกิดปัญหาน้ำไหลย้อนเข้าไปใต้หลังคาได้ และในกรณีที่แผ่นเมทัลชีทที่ “ยาวเกินไป” จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการติดตั้ง โดยทำให้ปีกของสันลอนตัวผู้หรือสันลอนตัวเมียประกบกันไม่ดี เกิดช่องว่างและน้ำไหลย้อนได้เช่นกัน
ทั้งนี้ยังรวมไปถึงความกว้างและรูปลอนของแผ่นเมทัลชีทต้องได้มาตรฐานเท่ากันทุกแผ่น มิเช่นนั้นการทับลอนจะไม่สนิทก็เกิดปัญหาได้เช่นกัน ดังนั้น การควบคุมความกว้าง (width tolerance) ของเมทัลชีท ความสั้นความยาวที่กำหนดค่าความคลาดเคลื่อนของความกว้างของเมทัลชีทไว้น้อยที่สุด จะทำให้รูปลอนหลังคาออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด และได้ผลงานหลังคาที่มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุดเช่นกัน