หลังคาอลูซิงค์ ม้วนคอยล์เมทัลชีท แข็งแรง ทนทาน ได้มาตรฐานระดับสากล

อลูซิงค์ เมทัลชีท (GL) เหล็กม้วนอลูซิงค์ หรือ Galvalume (GL) เป็นเหล็กแผ่นที่นำไปเคลือบผิวด้วยอลูซิงค์ที่ประกอบด้วยอลูมิเนียม (Aluminum)55%, สังกะสี (Zinc)43.4%, ซิลิคอน(Silicon)1.6% มีคุณสมบัติกันสนิมได้ดีกว่าเหล็กเคลือบสังกะสีธรรมดาถึง 5 เท่า มีความแข็งแรงทนทาน ชั้นเคลือบอลูซิงค์ที่นิยมใช้ทำหลังคาอลูซิงค์ ด้วยเหล็กม้วนคอยล์เมทัลชีทจะมี AZ70 AZ100 AZ150 (AZ150 หมายจะถึงใช้อลูซิงค์น้ำหนัก 150 กรัม เคลือบบนผิวเหล็ก 1 ตารางเมตร ทั้ง 2 ด้าน บนและล่าง) ความหนาที่ใช้รีดหลังคาอลูซิงค์อยู่ที่ 0.18 – 0.50 mm. หน้ากว้าง 914 mm. ความแข็งอยู่ที่ G550 และ G300 อีกทั้งยังมีราคาที่ถูก น้ำหนักเบาทำให้ติดตั้งได้ง่าย คุณภาพดี และยังสามารถเอาม้วนอลูซิ้งค์ไปเคลือบสีเพิ่มความสวยงามได้อีก จึงทำให้เป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมากในปัจจุบัน

ด้วยความโดดเด่นในเรื่องป้องกันสนิมเรายังสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบ ไม่เพียงแต่รีดเป็นหลังคาอลูซิงค์เมทัลชีทที่เป็นที่นิยมกันเท่านั้น ตัวอย่างเช่น แผ่นฝ้าเพดานเหล็ก ผนัง กันสาดหรือแม้แต่งานตกแต่งภายในก็สามารถทำได้เช่นกัน อีกทั้งยังมีราคาที่ถูก น้ำหนักเบา ทำให้ติดตั้งได้ง่าย คุณภาพดี จึงทำให้เป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมากในปัจจุบัน นอกจากนั้น เรายังมีสินค้าหลากหลายยี่ห้อให้ลูกค้าเลือกใช้ เช่น ดองบู, เยี่ยเฟย, ยูเนี่ยน, ไดมอนด์, วินเนอร์, ซันโก้ เป็นต้น

หนา
0.18 – 0.50 mm
กว้าง
914 mm
ยาว
Coil
น้ำหนัก
3.5 - 5.0 mt.

อลูซิงค์” คืออะไร วันนี้มีคำตอบ…

“อลูซิงค์” ที่มีคุณภาพระดับสากล ภายใต้มาตรฐาน ASTM A792M , AS1397

“อลูซิงค์” เหล็กเคลือบโลหะผสม เป็นเหล็กที่มีคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อนในสภาพบรรยากาศทั่วไปเหนือกว่าเหล็กกล้าชนิดแผ่นธรรมดา โดยทั่วไปเหล็กจะถูกกัดกร่อนได้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ

กระบวนการกัดกร่อนเกิดจากการรวมตัวของเนื้อเหล็กกับออกซิเจนเป็นออกไซด์ การเคลือบเหล็กโลหะผสมเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี ด้วยประสิทธิภาพในการต้านทานการกัดกร่อนอย่างยอดเยี่ยมของอลูมิเนียม และคุณสมบัติของสังกะสี ที่สละตัวเองเพื่อป้องกันการเกิดสนิม และการนำมาขึ้นรูปได้ง่าย จึงทำให้เหล็กโลหะผสมอลูซิงค์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าเหล็กเคลือบสังกะสีถึง 2-4 เท่าตัว ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับภูมิอากาศในประเทศไทยที่มีความชื้นสัมผัสสูงกว่า 75% การใช้งานในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง สำหรับการทำหลังคา ฝาผนัง รางน้ำ ท่อน้ำฝน ท่อน้ำทิ้ง และการผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ที่ใช้ภายนอกอาคาร เป็นต้น

รายละเอียดเหล็กโลหะผสม “อลูซิงค์”

  • การผลิตและการควบคุมการผลิตเป็นไปตามมาตรฐาน ASTM A792M (TCT) ,JIS SGLC570 (BMT) และ AS1397 ลายดอกเรียงตัวกันอย่างสม่ำเสมอ (Regular Spangle)
  • เหล็กเคลือบโลหะผสม “อลูซิงค์” เป็นเหล็กเคลือบโลหะผสม อลูมิเนียม และสังกะสี โดยมีชั้นเคลือบ ซึ่งประกอบด้วย อลูมิเนียม 55% : สังกะสี 43-43.40% : ซิลิคอน 1.6%
  • เหล็กเคลือบโลหะผสม “อลูซิงค์” ผลิตโดยการนำเอาแผ่นโลหะชุบร้อนแบบต่อเนื่อง ผ่านอ่างที่มีโลหะเคลือบอลูซิงค์หลอมอยู่
  • ความแข็งของเหล็กเคลือบโลหะผสม “อลูซิงค์” ที่นิยมที่ใช้โดยทั่วไปจะมี อยู่ 2 ความแข็ง คือ อลูซิงค์ G300 และ G550 – เหล็กกล้าเคลือบอลูซิงค์ โดยกรรมวิธีจุ่มร้อน

ระบบการป้องกันสนิม

เหล็กเคลือบโลหะผสม “อลูซิงค์” มีระบบป้องกันสนิม 2 ลักษณะ คือ

  1. อลูมิเนียม ช่วยเป็นเกราะป้องกันการกัดกร่อนที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างอากาศกับตัวเนื้อเหล็ก และเพิ่มความต้านทานต่อระดับความร้อนที่อุณหภูมิสูง จึงเหมาะแก่การทำหลังคาอลูซิงค์
  2. สังกะสี ช่วยป้องกันการกัดกร่อนบริเวณขอบตัดและรอยขีดข่วนที่ผิว โดยสารประกอบสังกะสีจะสร้างตัวตรงบริเวณขอบตัด ด้วยปฏิกริยาอิเลคโตรด และจะสละตัวเอง เพื่อป้องกันการกัดกร่อนที่เนื้อเหล็ก

แผ่นอลูซิงค์ หรือ แผ่นเมทัลชีทเคลือบอลูซิงค์

คำว่า “แผ่นอลูซิงค์” ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในการเรียก “แผ่นเมทัลชีท” ที่เคลือบอลูมิเนียม (Aluminium-อ่านว่า อลูมินัม) และสังกะสี (Zinc – อ่านว่า ซิงค์) จะสังเกตเห็นว่า คำว่าอลูซิงค์เป็นคำผสม ที่เกิดจากการผสมคำสองคำ ที่ใช้เรียก โลหะผสมระหว่างอลูมิเนียมและสังกะสีนั้นเอง อลูมิเนียมช่วยป้องกันการกัดกร่อน ที่เกิดจากการทำปฏิกิริยา ระหว่างอากาศและตัวเนื้อเหล็ก ส่วนสังกะสี ช่วยป้องกัน การกัดกร่อนบริเวณขอบตัดและรอยขีดข่วน โดยสารประกอบ สังกะสีจะสละตัวเอง เพื่อป้องกันการกัดกร่อนที่เนื้อเหล็ก

ความหนาชั้นเคลือบอลูซิงค์

 AZ70 และ AZ150 คือระดับการเคลือบสารอลูซิงค์หน่วยเป็นกรัมต่อตารางเมตร ทั้ง 2 หน้า ซึ่งการเคลือบสารที่มากกว่าจะทำให้แผ่น Metal Sheet ทนทานนานกว่า ซึ่งความทนทานนี้จะไม่ขึ้นอยู่กับความหนาของแผ่นเหล็กก่อนเคลือบ