วิธีเลือกแผ่นหลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet) ให้เหมาะสม

วิธีเลือกแผ่นหลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet) ให้เหมาะสม

หากคุณคือคนที่กำลังสร้างหรือต่อเติมบ้านอยู่ และมองหาวัสดุหลังคาที่ทนทาน คุ้มค่า และราคาไม่สูงมาก หลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet) อาจเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ด้วยคุณสมบัติโดดเด่นหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ทนทานต่อแรงลม และในบทความนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับวิธีเลือกแผ่นหลังคาเมทัลชีทอย่างละเอียดและเข้าใจง่ายไปด้วยกัน

Metal Sheet คืออะไร

เมทัลชีท (Metal Sheet) มาจากคำภาษาอังกฤษ 2 คำ คือคำว่า “Metal ” หมายถึง โลหะ หรือเหล็ก และคำว่า “ชีท” หมายถึง แผ่น ดังนั้น “เมทัลชีท” จึงแปลรวมกันได้ว่าเป็น แผ่นโลหะ หรือแผ่นเหล็กรีดลอนยาว รอยต่อน้อยเคลือบด้วยสังกะสี-อลูมิเนียม (Zinc-Aluminium) ที่มีคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อนและป้องกันการเกิดสนิม จึงนิยมนำมาใช้มุงหลังคาบ้าน ทำกันสาด และรั้วกั้น

Metal Sheet มีกี่แบบ ประเภทของเมทัลชีท

ประเภทของลอนหลังคาเมทัลชีท สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามจำนวนสันลอน คือ

  • ประเภทลอนมาตรฐาน : มีสันลอน 3-5 สันลอน เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป เช่น โรงงานอุตสาหกรรม โกดังเก็บสินค้า อาคารพาณิชย์ เป็นต้น
  • ประเภทลอนตกแต่ง : มีสันลอนมากกว่า 5 สันลอน หรือมีลอนมีลักษณะคล้ายกับกระเบื้องมุงหลังคา เช่น ลอนสเปน ลอนซากุระ ลอนเมอริเดียน เป็นต้น เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความสวยงาม เช่น ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน เป็นต้น

สำหรับประเภทของลอนหลังคาเมทัลชีทที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย มีดังนี้

เมทัลชีทลอนมาตรฐาน

metalsheet3ลอน

1.เมทัลชีทลอน 3 สันลอน

แผ่นเมทัลชีทแบบ 3 ลอน มีความยาวไม่เกิน 760 มิลลิเมตร ความสูงของแต่ละลอนอยู่ที่ 30 มิลลิเมตร ระหว่างสันลอนขึ้นรูปเป็นตะเข็บคู่ที่มีความกว้าง 300 มิลลิเมตร ช่วยให้ระบายน้ำได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

metalsheetเมทัลชีท4ลอน

2. เมทัลชีทลอน 4 สันลอน

แผ่นเมทัลชีทแบบ 4 ลอน มีความยาวไม่เกิน 750 มิลลิเมตร ความสูงของแต่ละลอนอยู่ที่ 30 มิลลิเมตร ระหว่างสันลอนขึ้นรูปเป็นตะเข็บคู่ที่มีความกว้าง 178 มิลลิเมตร

metalsheetเมทัลชีท5ลอน

3. เมทัลชีทลอน 5 สันลอน

แผ่นเมทัลชีทแบบ 5 ลอนหรือเมทัลชีทลอนคู่ มีความยาวไม่เกิน 760 มิลลิเมตร มีสันลอนทั้งหมด 5 สัน แต่ละสันสูง 24 มิลลิเมตร ความกว้างระหว่างสันอยู่ที่ 120 มิลลิเมตร

เมทัลชีทลองตกแต่ง

1. เมทัลชีทลอนหลังเต่า

มีลักษณะคล้ายกับเมทัลชีทแบบ 5 ลอน มีความยาวไม่เกิน 760 มิลลิเมตร สันลอนแต่ละสันสูง 24 มิลลิเมตร ความกว้างระหว่างสันอยู่ที่ 128 มิลลิเมตร

2. เมทัลชีทลอนดอกเหมย

ลักษณะเป็นแผ่นเมทัลชีทที่ขึ้นรูปแบบตะเข็บคู่ มีความยาวรวม 750 มิลลิเมตร มีทั้งหมด 5 ลอน แต่ละสันสูง 24 มิลลิเมตร ความกว้างระหว่างสันอยู่ที่ 75 มิลลิเมตร

3. เมทัลชีทลอนซากุระ (Sakura)

มีลักษณะโค้งมน คล้ายกับกระเบื้องมุงหลังคาทั่วไป มีความยาวไม่เกิน 720 มิลลิเมตร สันลอนสูง 32 มิลลิเมตร ความกว้างระหว่างสันอยู่ที่ 75 มิลลิเมตร

4. เมทัลชีทลอนสเปน (Spain)

หลังคาเมทัลชีทลอนสเปน ลักษณะคล้ายกับลอนซากุระ คือมีความโค้งมนคล้ายกับกระเบื้องมุงหลังคา แต่จะให้ความรู้สึกนุ่มนวล หลังคาโค้งเหมือนคลื่น มีความยาวไม่เกิน 750 มิลลิเมตร สันลอนสูง 35 มิลลิเมตร ความกว้างระหว่างสันอยู่ที่ 125 มิลลิเมตร

5. เมทัลชีทลอนทีโมเนีย (T-Monier)

ลอนหลังคาเมทัลชีทแบบทีโมเนีย มีลักษณะคล้ายกับเกลียวคลื่น ช่วยลดการสั่นไหว และระบายน้ำได้ดียิ่งขึ้น ตัวหลังคามีความยาวไม่เกิน 750 มิลลิเมตร สันลอนสูง 24 มิลลิเมตร ความกว้างระหว่างสันลอนอยู่ที่ 175 มิลลิเมตร

6. เมทัลชีทลอนเมอริเดียน (Meridian)

ลอนหลังคาเมทัลชีทแบบเมอริเดียน มีลักษณะคล้ายกระเบื้องมุงหลังคาเช่นเดียวกัน มีความยาวรวมไม่เกิน 800 มิลลิเมตร สันลอนสูง 25 มิลลิเมตร ความกว้างระหว่างสันลอนอยู่ที่ 170 มิลลิเมตร

7. เมทัลชีทลอนคลิปล็อก (Kliplock)

หลังคาเมทัลชีทลอนคลิปล็อก มีความยาวรวมไม่ต่ำกว่า 700 มิลลิเมตร สันลอนสูงถึง 39 มิลลิเมตร ความกว้างระหว่างสันลอนอยู่ที่ 180 มิลลิเมตร ช่วยป้องกันการรั่วซึม ป้องกันน้ำไหลออกข้างลอน

การติดตั้งเมทัลชีท (Metal Sheet) ด้วย 3 ระบบ

1. ระบบยิงสกรู (Bolt System)

ระบบนี้จะใช้ได้กับแผ่นเมทัลชีททั่วไปทุกขนาด ติดตั้งง่าย แค่ใช้สกรูยึดกับหลังคาเมทัลชีทและโครงสร้างหลังคาหรือแปก็เสร็จเรียบร้อย

2. ระบบไม่ใช้สกรู (Boltless System)

ระบบนี้จะใช้แผ่นเมทัลชีทที่ไม่ต้องติดตั้งด้วยสกรู คือแผ่นเมทัลชีทลอนคลิปล็อก วิธีการติดตั้งคือใช้สกรูยึดกับคอนเน็กเตอร์และแป แล้วค่อยนำแผ่นเมทัลชีทยึดติดกับคอนเน็กเตอร์อีกครั้งหนึ่ง โดยกดที่สันลอนให้ลงล็อก ระบบไม่ใช้สกรูจะดีตรงที่ช่วยลดการรั่วซึมของหลังคาได้ดีกว่า และออกแบบรูปลอนที่สามารถระบายน้ำได้ดีกว่าด้วย

3. ระบบไร้รอยต่อ (Seamless System)

ส่วนระบบแบบไร้รอยต่อจะใช้สกรูเจาะยึดกับคลิปที่ยึดตัวแผ่น แล้วนำแผ่นเมทัลชีทต่อไปมาซ้อนทับให้ล็อกกัน ทำให้บริเวณที่ซ้อนทับกันปิดทับสกรูไปด้วย และตรงส่วนที่ล็อกกันมีลักษณะเป็นครีบสูงตั้งตรง ทำให้น้ำไม่รั่วซึมและดูเหมือนไร้รอยต่อ

วิธีการเลือกหลังคา Metal Sheet ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ในการเลือกซื้อแผ่นเมทัลชีทจะต้องพิจารณาอยู่ 5 ข้อหลัก ได้แก่ จำนวนลอนเมทัลชีท คุณภาพของอลูซิงค์ ความหนาของเมทัลชีท รูปแบบการติดตั้งและการมีมาตรฐานรองรับ

วิธีการเลือกหลังคาMetalSheet

1. เลือกลอนให้เหมาะกับงาน

หลังคาเมทัลชีทมีหลายลอนมาก ทั้งลอนสูง ลอนเตี้ย ลอนรูปกระเบื้อง โดยแต่ละลอนก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ดังนั้นในการเลือกลอนควรพิจารณาจากพื้นที่ตั้งของบ้าน และสไตล์บ้าน เช่น หากอยู่ในพื้นที่ฝนตกชุก ก็อาจจะเลือกใช้หลังคาลอนสูง เพื่อช่วยให้ระบายน้ำได้ดีขึ้น

2. ความหนาของแผ่นเมทัลชีท (Metal Sheet)

ความหนาของแผ่นเมทัลชีทแสดงถึงความแข็งแรงและความทนทาน เหมาะกับการใช้งานที่ต่างกันดังนี้

  • เมทัลชีท หนา 0.3-0.35 มิลลิเมตร เหมาะกับงานอาคารขนาดเล็ก ขนาดแปไม่เกิน 1 เมตร เช่น โรงจอดรถ บ้านสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
  • เมทัลชีท หนา 0.35-0.4 มิลลิเมตร เหมาะกับงานอาคารขนาดกลาง เช่น หลังคาบ้าน งานผนังทั่วไป เป็นต้น
  • เมทัลชีท หนา 0.4-0.47 มิลลิเมตรขึ้นไป เหมาะกับงานขนาดใหญ่ที่ต้องการความแข็งแรง เช่น โกดังเก็บสินค้า อาคารขนาดใหญ่ เป็นต้น

3. การเคลือบด้วยอลูซิงค์ และสี

หลังคาเมทัลชีทที่ได้เคลือบสีตัวเหล็กจะเป็นสีเงิน ซึ่งเป็นสีของสังกะสี-อะลูมิเนียม สามารถทนต่อสนิมได้ระดับหนึ่ง ในทำนองเดียวกันหากเคลือบด้วยสีที่มีคุณภาพอีกชั้น ก็จะช่วยให้ป้องกันการเกิดสนิมได้มาขึ้น

ดังนั้นหากต้องการหลังคาเมทัลชีทที่มีคุณสมบัติทนทานต่อการสึกหรอและป้องกันการเกิดสนิม ให้เลือกเมทัลชีทที่มีตัวเลขด้านหลังสัญลักษณ์ AZ ให้มากเข้าไว้

4. รูปแบบการติดตั้ง 

ควรเลือกรูปแบบการติดตั้งหลังคาเมทัลชีทให้เหมาะกับโครงสร้างหลังคาบ้าน เพื่อป้องกันปัญหาหลังคารั่ว เช่น โครงหลังคาโมเดิร์นแบบลาดชันต่ำ การติดตั้งแบบคลิปล็อกจะเหมาะสมมากที่สุด ในขณะที่โครงหลังคาแบบปั้นหยาหรือหมาแหงน จะใช้การติดตั้งแบบเจาะสกรูมากกว่าแบบอื่น เป็นต้น

5. มีมาตรฐานอุตสาหกรรมรองรับ

ควรเลือกหลังคา Metal Sheet ที่ผลิตตามมาตรฐานสากล เช่น ASTM A653 และ JIS G3302 มาตรฐานเหล่านี้จะกำหนดคุณสมบัติของแผ่นเมทัลชีทในด้านความแข็งแรง ทนทาน และความปลอดภัย

ข้อดีของหลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet)

  • แข็งแรง ทนทาน : หลังคาเมทัลชีทผลิตจากเหล็กกล้าคุณภาพสูง มีการเคลือบผิวด้วยอลูซิงค์ เพื่อป้องกันการเกิดสนิมและการสึกกร่อน จึงมีความแข็งแรงทนทานต่อสภาพอากาศ
  • น้ำหนักเบา : หลังคาเมทัลชีทมีน้ำหนักเบากว่าวัสดุหลังคาประเภทอื่น เช่น กระเบื้อง ทำให้โครงสร้างหลังคาและอาคารไม่ต้องรับน้ำหนักมาก ช่วยลดค่าใช้จ่ายอย่างอื่น เช่น การตอกเสาเข็ม เป็นต้น
  • ราคาไม่แพง : เมื่อเทียบกับวัสดุประเภทอื่นๆ หลังคาเมทัลชีทถือว่าราคาค่อนข้างถูก แต่กลับใช้งานได้หลากหลาย สามารถนำไปใช้ทำหลังคา รั้วกั้น และผนัง
  • ระบายความร้อนได้ดี : หลังคาเมทัลชีทสามารถระบายความร้อนได้ดีกว่ากระเบื้อง จึงช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคารได้อย่างรวดเร็ว
  • ติดตั้งง่าย : แผ่นเหล็กรีดลอนอย่างเมทัลชีทค่อนข้างยาว สามารถทำหลังคาโค้งได้ตามต้องการ ติดตั้งได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย อีกทั้งยังช่วยลดปัญหารอยต่อและจุดรั่วซึมได้ดีกว่าวัสดุประเภทอื่น

ข้อเสียหลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet)

  • เสียงดัง : เมื่อฝนตกหรือมีอะไรสักอย่างกระทบหลังคา จะทำให้เกิดเสียงดัง เพราะหลังคาแบบเมทัลชีทนั้นบาง มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงต่ำ แต่ถ้าติดตั้งร่วมกับฉนวนกันความร้อนจะสามารถลดเสียงที่ลอดผ่านได้
  • ไม่มีฉนวนกันความร้อน : หลังคาเมทัลชีทไม่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อน ทำให้ความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ง่าย จึงจำเป็นต้องติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติม
  • ระบายน้ำได้ไม่ดี : ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความสูงของลอนและความชันของหลังคาด้วย

ศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับ Metal Sheet

สุดท้ายลองมาดูอักษรย่อและสัญลักษณ์บนเมทัลชีทแต่ละชนิดกันดีกว่า ว่าหมายถึงอะไร เวลาซื้ออุปกรณ์พวกนี้จะได้เลือกมาได้อย่างถูกต้องและเหมาะกับการใช้งาน

  • BMT (Base Metal Thickness) หมายถึง ความหนาของแผ่นเมทัลชีทก่อนเคลือบอลูซิงค์ มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร (mm)
  • TCT (Total Coated Thickness) คือ ความหนาของแผ่นเมทัลชีทที่ รวมสารเคลือบอะลูมิเนียม 55% ผสมสังกะสี มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร (mm)
  • APT คือ ความหนาของแผ่นเมทัลชีทที่เคลือบด้วยอะลูมิเนียม 55% ผสมสังกะสี และเคลือบสี
  • G300, G550 คือค่า Yield strength หรือค่าความแข็งแรงของเหล็กซึ่งได้มาจากการทดสอบ Tensile strength ยิ่งมีค่าตัวเลขที่มากเท่าไหร่ เหล็กยิ่งมีความแข็งแรงมากเท่านั้น G300 หมายถึง เหล็กกล้าทั่วไป (เหมาะสำหรับงานแผ่นครอบทั่วไป) G550 หมายถึง เหล็กกล้ากำลังสูง (เหมาะสำหรับการทำหลังคาเมทัลชีท)
  • AZ50, AZ70, AZ 90, AZ100, AZ150คือความหนาของอลูซิงค์ที่เคลือบแผ่นเหล็กทั้ง 2 ด้าน มีหน่วยเป็น กรัมต่อตารางเมตร (g/sqm) เช่น AZ150 หมายถึง มีมวลสารเคลือบอะลูมิเนียม 55% ผสมสังกะสี รวมกันทั้ง 2 ด้านต่ำสุดที่ 150 กรัมต่อตารางเมตร เป็นต้น
  • JIS (Japanese Industrial Standard) คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ของประเทศญี่ปุ่น
  • AS (Australian Standards) คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ของประเทศออสเตรเลีย
  • ASTM (American Society for Testing and Materials) คือ มาตรฐานของทางสมาคมการทดสอบและวัสดุแห่งอเมริกา
  • TIS (Thai Industrial Standard) คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ของประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังมีศัพท์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Metal Sheet ดังนี้

  • ลอน คือ ลักษณะการโค้งงอของแผ่นเมทัลชีท โดยลอนที่นิยมใช้ในประเทศไทย ได้แก่ ลอนคลิปล็อค ลอนลูกฟูก และลอนลูกคลื่น
  • แป คือ ไม้หรือเหล็กที่ใช้ยึดแผ่นเมทัลชีทกับโครงสร้าง
  • ตะปูเกลียว คือ ตะปูที่ใช้ยึดแผ่นเมทัลชีทกับแป
  • สกรู คือ วัสดุที่ใช้ยึดแผ่นเมทัลชีทกับแป
  • รองครอบ คือ วัสดุที่ใช้ปิดรอยต่อระหว่างแผ่นเมทัลชีท
  • กันซึม คือ วัสดุที่ใช้ป้องกันน้ำรั่วซึม

สรุป

สำหรับท่านใดที่กำลังสร้างบ้านหรือมองหาเมทัลชีท (Metal Sheet) สำหรับงานก่อสร้าง ที่ Thaitaweeporn เรามีวัตถุดิบที่มีสีสันและลวดลายไว้ใช้งานได้หลากสไตล์ มีการพิมพ์ลายทั้งภายนอกและภายใน เพื่อเพิ่มความสวยงาม ไว้ใช้ในงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม ได้รับการรองรับการผลิตตามมาตรฐานครบทุกรายการ

บทความที่เกี่ยวข้อง

coverแปz-z1429280452096

แปหลังคา คืออะไร รู้จักแป 3 แบบสำหรับงานโครงสร้าง

coverเหล็กz-z316735686991

เหล็ก คืออะไร ชนิดของเหล็กและลักษณะการใช้งาน

coverซีลายz-z985707962558

ฝ้าเพดานสวย ๆ ใครเป็นคนค้ำไว้? มาทำความรู้จัก “เหล็กซีลาย” กันเถอะ!

coverหลังคาโรงจอดรถz-z573771931095

ต่อเติมหลังคาโรถจอดรถหน้าบ้าน แบบไหนให้สวยและแข็งแรง