10 วิธีทำให้บ้านเย็น แก้ปัญหาบ้านร้อนอบอ้าว ไม่ต้องพึ่งแอร์

หลายปีมานี้อากาศเมืองไทยร้อนเกือบตลอดทั้งปี หลายบ้านต้องเผชิญกับปัญหาบ้านร้อนเหมือนอยู่ในเตาอบ ไม่น่าอยู่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ปัญหาความร้อนภายในบ้านสามารถแก้ไขได้หลายวิธี บทความนี้จึงได้รวบรวม 10 วิธีทำให้บ้านเย็น ไม่ร้อนอบอ้าว มาฝากกัน รับรองว่าทำได้ไม่ยาก และช่วยให้บ้านของคุณเย็นสบายขึ้นอย่างแน่นอน

10วิธีทำให้บ้านเย็นแก้ปัญหาบ้านร้อนอบอ้าวไม่ต้องพึ่งแอร์

สาเหตุที่ทำให้บ้านร้อนอบอ้าว

ก่อนจะไปดูวิธีทำให้บ้านเย็น อยากชวนทุกคนมาดูสาเหตุที่ทำให้บ้านของเราร้อนกันก่อน เพื่อจะได้แก้ปัญหาอากาศร้อนอบอ้าวในบ้านได้อย่างตรงจุดและได้ผลจริง โดยสาเหตุที่ทำให้บ้านร้อนเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ ความร้อนที่เกิดขึ้นภายนอกบ้าน และความร้อนที่เกิดขึ้นภายในบ้าน

1.ความร้อนที่เกิดขึ้นภายนอกบ้าน

– แสงแดด เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้บ้านร้อน โดยเฉพาะแสงแดดในช่วงบ่ายที่ค่อนข้างแรง เมื่อส่องเข้ามาทางผนัง หน้าต่าง และหลังคา ทำให้ความร้อนเข้ามาสะสมภายในบ้าน

– ทิศทางลม ลมสามารถช่วยระบายความร้อนออกจากบ้านได้ หากบ้านตั้งอยู่ในทิศที่ลมไม่ผ่าน ความร้อนจะสะสมภายในบ้าน

– สภาพแวดล้อมรอบบ้าน หากบ้านตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งความร้อน เช่น ถนน โรงงาน ความร้อนจากแหล่งเหล่านี้จะแผ่เข้ามาในบ้านได้

2.ความร้อนที่สะสมภายในบ้าน

– การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ก่อให้เกิดความร้อนภายในบ้านได้

– กิจกรรมภายในบ้าน เช่น การประกอบอาหาร การอาบน้ำ จะทำให้บ้านร้อนขึ้น

10 วิธีทำให้บ้านเย็น ไม่ร้อนอบอ้าว อยู่สบายตลอดปี

วางผังบ้านให้ถูกทิศ

1.วางผังบ้านให้ถูกทิศ

การวางผังบ้านให้ถูกทิศสำคัญมาก เพราะแสงแดดและทิศทางลมเป็นตัวกำหนดอุณหภูมิภายในบ้านของเรา หากวางผังบ้านผิดอาจทำให้บ้านร้อนอบอ้าว อากาศไม่หมุนเวียน ซึ่งโดยปกติแล้วแสงแดดจะส่องถึงตัวบ้านจากทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ส่วนทิศทางลมจะมาจากทิศเหนือและทิศใต้นั่นเอง ดังนั้นถ้าหันตัวบ้านไปทาง…

  • ทิศเหนือ จะโดนแดดค่อนข้างน้อย มีลดพัดตลอดทั้งปี
  • ทิศใต้ จะโดนแดดช่วงเที่ยง อากาศถ่ายเทตลอดทั้งปี
  • ทิศตะวันออก จะโดนแดดอ่อน ๆ ช่วงเช้า และเริ่มร้อนช่วงเที่ยง
  • ทิศตะวันตก จะโดนแดดแรงช่วงเช้าและบ่าย
ออกแบบลมไหลเวียนภายในบ้าน

2.ออกแบบลมไหลเวียนภายในบ้าน

หากอากาศภายในบ้านไหลเวียนดี ลมสามารถไหลเวียนได้ทั่วถึงทุกห้อง ก็จะช่วยลดความชื้น กลิ่นอับ และกระจายความร้อนออกจากตัวบ้าน ทำให้บ้านเย็นสบายขึ้น การออกแบบลมไหลเวียนภายในบ้านสามารถทำได้โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  •  ทิศทางลม บ้านควรหันหน้าไปทางทิศเหนือหรือทิศใต้ ซึ่งจะมีลมพัดผ่านตลอดทั้งปี
  •  ตำแหน่งของหน้าต่างและประตู ควรมีหน้าต่างอย่างน้อย 2 ด้านอยู่ตรงข้ามกัน
  •  ตำแหน่งของเฟอร์นิเจอร์ ไม่ควรวางเฟอร์นิเจอร์กันทางเดินลม
  •  การติดตั้งพัดลมเพดาน จะช่วยกระจายลมให้ทั่วถึงทุกห้อง
ทำให้บ้านเย็นด้วยระบบระบายอากาศตามธรรมชาติ

3.สร้างระบบระบายอากาศตามธรรมชาติ

การสร้างระบบระบายอากาศตามธรรมชาติเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยทำให้บ้านเย็นสบายขึ้นได้ โดยอาศัยความแตกต่างของอุณหภูมิและความดันของอากาศ กล่าวคืออากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น และอากาศเย็นจะลอยตัวต่ำลง ดังนั้นหากเปิดช่องว่างให้อากาศร้อนไหลออก และอากาศเย็นไหลเข้ามาได้ ก็จะสามารถระบายความร้อนออกจากบ้านได้ เช่น เปิดหน้าต่างหรือประตูให้ลมพัดผ่าน การติดตั้งช่องระบายอากาศ เป็นต้น

ติดตั้งวัสดุกันความร้อนใต้หลังคาและผนัง

4.ติดตั้งวัสดุกันความร้อนใต้หลังคาและผนัง

หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าความร้อนส่วนใหญ่ที่อยู่ในบ้านของเรานั้น มาจากแสงอาทิตย์ที่ส่องกระทบหลังคาและแผ่ความร้อนทั่วทั้งตัวบ้านอีกต่อหนึ่ง นอกจากนี้ผนังบ้านก็ยังเป็นอีกจุดที่แสงแดดจากดวงอาทิตย์สาดส่องเข้ามาและกักเก็บพลังงานความร้อนไว้ด้วยเช่นกันปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ได้ด้วยการติดฉนวนกันความร้อนไว้ใต้หลังคาหรือผนังบ้าน เพื่อให้วัสดุช่วยกันความร้อนให้ทะลุเข้ามาน้อยที่สุด

ทาสีโทนเย็น

5.เลือกทาสีบ้านที่ให้ความเย็น

สีทาบ้านที่ให้ความรู้สึกเย็น คือสีโทนอ่อนหรือโทนเย็น เช่น สีขาว สีเทา สีฟ้าอ่อน สีม่วงอ่อน สีเขียว เป็นต้น สีเหล่านี้จะสะท้อนแสงได้ดี จึงช่วยกระจายความร้อนจากแสงแดด ทำให้บ้านเย็นสบายขึ้น อีกทั้งสีโทนเย็นยังให้ความรู้สึกผ่อนคลาย สบายตา ทำให้บ้านดูกว้างขวางขึ้นอีกด้วย

ปลูกต้นไม่รอบบ้าน

6.ปลูกต้นไม้รอบบริเวณบ้าน

ร่มเงาของต้นไม้ที่ปลูกรอบบ้านจะช่วยลดทอนความร้อนแรงของแสงแดดที่ส่องมาในบ้านของเราได้ นอกจากนี้ต้นไม้ยังช่วยดูดซับความร้อนจากอากาศ ทำให้อุณหภูมิรอบบริเวณบ้านลดลง บ้านเย็นสบายขึ้น แน่นอนว่าการปลูกต้นไม้เพื่อให้ร่มเงากับบ้านของเรานั้น ควรปลูกในตำแหน่งที่สามารถบดบังแสงแดดและไม่ขวางทิศทางลมด้วย

เลือกใช้หลอดไฟ-LED

7.เลือกใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดไฟธรรมดา

แสงสว่างจากหลอดไฟก็เป็นอีกหนึ่งจุดที่สร้างความร้อนให้กับบ้านของเรา เหตุผลที่ควรหันมาใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดไฟแบบธรรมดา นั่นก็เพราะหลอดไฟ LED มีคุณสมบัติปล่อยความร้อนน้อยกว่าหลอดไฟทั่วไป เนื่องจากหลอด LED ไม่ได้ใช้ความร้อนในการสร้างพลังงาน ทำให้บ้านเย็น ไม่ร้อน นอกจากนี้ยังให้ความสว่างได้ดีกว่าและประหยัดไฟด้วยนะ

ติดตั้งกันสาด

8.ติดตั้งกันสาด ไว้กันแดด

กันสาดจะทำหน้าที่บังแดดไม่ให้ส่องเข้ามาภายในบ้านโดยตรง ทำให้ความร้อนจากแสงแดดสะสมในบ้านได้น้อยลง ทำให้บ้านเย็นขึ้น สำหรับทิศที่เหมาะกับการติดตั้งกันสาดเพื่อไว้บังแดด ได้แก่ ทิศตะวันตก ทิศตะวันออก และทิศใต้ ซึ่งเป็นทิศที่แดดส่องถึงอย่างชัดเจน

ทำให้บ้านเย็นด้วยน้ำ

9.ทำให้บ้านเย็นด้วยน้ำ

น้ำมีคุณสมบัติดูดซับและระบายความร้อนได้ดี เราสามารถใช้น้ำช่วยทำให้บ้านเย็นสบายขึ้นได้ มีหลายวิธี ดังนี้

  • ฉีดน้ำบนหลังคา การฉีดน้ำที่หลังคาจะช่วยดูดซับความร้อนจากแสงแดด ทำให้อุณหภูมิของหลังคาลดลง และอุณหภูมิภายในบ้านก็จะลดลงตามไปด้วย
  • ติดตั้งระบบพ่นหมอก ละอองน้ำขนาดเล็กที่ถูกพ่นออกมาจะระเหยอย่างรวดเร็ว ทำให้อากาศเย็นลง เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ลานจอดรถ สนามหญ้า เป็นต้น
  • สร้างบ่อน้ำ บ่อน้ำช่วยดูดซับความร้อนจากอากาศรอบ ๆ บ่อ ทำให้อากาศรอบ ๆ บ่อเย็นลง การปลูกต้นไม้รอบ ๆ บ่อน้ำก็จะช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศ ทำให้บ้านเย็นสบายขึ้นได้
ปูพื้นด้วยกระเบื้องหินอ่อน

10.ปูพื้นด้วยกระเบื้องหินอ่อน

การปูพื้นด้วยกระเบื้องหินอ่อน มีส่วนทำให้บ้านเย็นลงได้ เนื่องจากหินอ่อนมีคุณสมบัติในการระบายความร้อนได้ดี ต่างจากวัสดุปูพื้นอื่น ๆ เช่น ไม้ กระเบื้องยาง และพรมที่มีคุณสมบัติในการกักเก็บความร้อน ดังนั้นพื้นกระเบื้องจะช่วยปรับอุณหภูมิภายในบ้านเราให้เย็นขึ้น

สรุป

อย่างไรก็ตามการทำให้บ้านเย็นบางข้อก็มีข้อจำกัดหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของงบประมาณ ความเป็นไปได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละบ้าน หากให้ดีก็ควรออกแบบบ้านให้ถูกทิศ จัดวางระบบลมหมุนเวียนต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างบ้าน เพื่อให้มั่นใจว่าบ้านของเรานั้นจะไม่เกิดปัญหาบ้านร้อนในภายหลังดังนั้นหากท่านใดกำลังมองหาวัสดุช่วยให้บ้านเย็น อาทิ หลังคาเมทัลชีท อุปกรณ์ทำกันสาด เหล็กอลูซิงค์ เหล็กดำ เหล็กขาว ทาง thaitaweeporn มีจำหน่ายครบวงจร พร้อมบริการจัดส่งถึงบ้านท่าน

บทความที่เกี่ยวข้อง

coverแปz-z1429280452096

แปหลังคา คืออะไร รู้จักแป 3 แบบสำหรับงานโครงสร้าง

coverเหล็กz-z316735686991

เหล็ก คืออะไร ชนิดของเหล็กและลักษณะการใช้งาน

coverซีลายz-z985707962558

ฝ้าเพดานสวย ๆ ใครเป็นคนค้ำไว้? มาทำความรู้จัก “เหล็กซีลาย” กันเถอะ!

coverphotoเมทัลชีทz-z367283066843

วิธีเลือกแผ่นหลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet) ให้เหมาะสม